วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

เท่านี้หรือคือชีวิต

พิจารณาธาตุ 4

เราปฏิบัติเพื่อถอดถอนความยึดมั่นในร่างกายของเรา หรือที่เรียกว่ารูปนี่แหละ รูปเรานี้ประกอบไปด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุ ไฟ คือเราอาศัยธาตุทั้ง ๔ประชุมรวมกันขึ้นเป็นรูปร่างหน้าตา เป็นมนุษย์ก็ดี เป็นสัตว์ก็ดี แล้วแต่กรรมตกแต่งกันไป เราอาศัยดิน น้ำ ลม ไฟ ตั้งแต่วันเกิดจนถึงวันตาย แล้วดิน น้ำ ลม ไฟ ของกายเรานี้มันก็ไม่มี มาแต่เดิม เราแค่อาศัยธาตุทั้ง ๔ มาอยู่ชั่วขณะเท่านั้น แล้วก็ต้องดับไป คนเราเวลาจะตาย นี่ ธาตุลมดับก่อน ต่อมาธาตุไฟจึงดับ คนตายใหม่ๆตัวยังอุ่นอยู่ พอไปๆธาตุไฟดับตัวจึงเย็น ต่อมาธาตุน้ำก็ระเหยออกไป ตัวก็ลีบก็แห้ง เหลือแต่ธาตุดินล้วนๆ สุดท้ายก็สลายกลายเป็น ดินตามธรรมชาติ นี่แหละคือหลักของความจริง ...แต่เราไปหลงธาตุกัน ไปหลงดิน น้ำ ลม ไฟ ว่าเป็นของเรา จริงๆแล้วมันเป็นแค่ของอาศัย สุดท้ายก็ต้องพลัดพรากจากร่างกายนี้ไป
เมื่อมีรูปอันเกิดจาก ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมรวมกันขึ้นมาเป็นเรา เวทนาจึงเกิดตามมา เวทนาก็คือความสุข ความทุกข์ ความนึ่งเฉย .แล้วก็มีสัญญาตามมาสัญญาคือความจำ จำรูป รส กลิ่น เสียง จำเรื่องราวต่างๆ นี่เรียกว่าสัญญา ...สังขารคือความคิดปรุงแต่ง คิดดี คิดชั่ว คิดเรื่องราวต่างๆนี่เราอาศัยสังขารเข้าไปปรุงแต่งร่วมกับสัญญา ....ส่วนวิญญาณคือความรับรู้รับทราบ วิญญาณนี่รู้ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็ทำงานร่วมกันกับตัวสัญญาและสังขาร ...เพราะฉะนั้น หากว่าเราไม่มีกาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ไม่มีขึ้นมา
เราเกิดมาแล้วเราไม่เคยไปแยกสภาวะของเขา แยกดิน น้ำ ลม ไฟ ออกเป็นกอง แยกเวทนา แยกสัญญา แยกสังขาร แยกวิญญาณ เราจึงไปหลงว่าเป็นก้อน เป็นตัวเป็นตน คิดว่าเราเป็นผู้รู้ คิดว่าเราเป็นผู้เข้าใจ เราจึงต้องพา...“การรู้ ”นี่ไปเวียนว่ายตายเกิด ก็ในเมื่อกายนี้ไม่ใช่ของเรา ตามความเป็นจริงโดยความเป็นธาตุ แล้วตัวผู้รู้ ตัวผู้เข้าใจ ที่เราอาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เข้าไปรู้นี่จะเป็นของเราได้อย่างไร ....ตัวรู้นี่เป็นสมมติเกิดมาพร้อมกับกาย เป็นของชั่วคราว เราไปหลงตัวรู้ เพราะฉะนั้นเมื่อเราทำลายความยึดมั่นในกายเสียได้ เราก็มาทำลายตัวผู้รู้อีกที “การตรัสรู้ จึงเรียกได้ว่า การตัด ซะ รู้ --- นั่นคือ การตัดซะตัวผู้รู้ และสิ่งที่ถูกรู้ นั่นเอง”
ถ้าถามว่า “ธาตุ” คืออะไร ก็ตอบได้เบื้องต้นตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาว่า “ สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง อันเป็นส่วนสำคัญที่คุมกันเป็นรูปร่างของสิ่งทั้งหลาย ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ”ในทางแพทย์แผนไทยถือว่าคนเป็นธาตุ 4 ที่มีชีวิตจึงมีชื่อเรียกเป็นพิเศษว่า “มหาภูตรูป”ตามรูปศัพท์นั้น “ภูติ ” หมายถึง ภูตผี ภาพมายาหลอกหลอน หรือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว
ในที่นี้คำว่า “มหาภูตรูป”ความหมายว่า รูปอันยิ่งใหญ่ที่บังเกิดขึ้นแล้วโดยธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาคุมกันเข้าเป็นรูปมนุษย์ ซึ่งมีความละเอียดซับซ้อนพิสดารกว่าธาตุ 4 ของสิ่งไม่มีชีวิต ตามทฤษฎีธาตุสมุฏฐานนั้น หากธาตุทั้ง 4 ตั้งอยู่ในสมดุลย์ สุขภาพของเราก็จะเป็นปกติ ไม่เจ็บไม่ไข้แต่หากธาตุตัวใดตัวหนึ่งหรือมากกว่าสองตัวเกิดแปรปรวนเสียสมดุลย์ ร่างกายของเราก็จะเกิดอาการเจ็บป่วยมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับภาวะการเสียสมดุลย์ธาตุว่ารุนแรงแค่ไหน
วิธีที่พระพุทธเจ้าให้เราพิจารณาเรื่องความตาย ซึ่งเป็นวิธีที่ สมัยนี้ไม่ค่อยจะมีโอกาสเท่าไหร่ คือเป็นการพิจารณาซากศพ เพราะ ว่าในสมัยอินเดีย การที่จะได้เอาซากศพไปไว้ที่ป่าช้าก็ถือเป็นเรื่อง ธรรมดา สำหรับสมณะผู้มุ่งในการถอนตัวออกจากโลก ก็จะมีโอกาส ได้เห็นและสังเกตซากศพที่ไปไว้ที่ป่าช้า แล้วก็จะได้เห็นกระบวนการ ของการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังจากที่ได้ตายแล้ว ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สมัยนั้นถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ก็ธรรมดาพอสมควร ก็ไม่ใช่สถานที่ที่คนจะไปเที่ยวมากนักหรอก แต่ว่ามันก็ยังมีพอจะได้เห็น
สมัยนี้แทบจะไม่ค่อยเห็น ถ้าเป็นฝรั่งก็ไม่เห็นเลย ไม่ค่อยมี ถ้าเป็นคนไทยก็แทบจะไม่เหลือเหมือนกัน คนกรุงเทพฯไม่เห็นตั้งนาน แล้ว คำว่าป่าช้ากลายเป็นคำศัพท์ที่อยู่ในพจนานุกรมแล้ว ไม่อยู่ใน ชีวิตประจำของคนทั่วๆ ไป ในกรุงเทพฯ ก็ไม่นานนัก ๑๐๐ กว่าปี ที่แล้ว วัดสระเกศก็ยังเป็นป่าช้า ๑๕๐ ปีที่แล้ววัดสระเกศอาจจะ เป็นป่าช้าที่อยู่ชานเมือง สัตว์ที่อยู่วัดสระเกศเยอะคือนกอีแร้ง เพราะ ว่าวิธีการบางครั้งที่ได้จัดการศพในวัดสระเกศคือจะทำเหมือนกับในธิเบต คือเอาซากศพไปหั่นแล้วก็ไปตั้งไว้ แล้วนกอีแร้งก็จะกิน ถือว่าเป็นการบริจาคร่างกายเพื่อประโยชน์ของสัตว์เหล่าอื่น คิดว่าใน ความคิดของคนกรุงเทพฯ ไม่ค่อยจะคิดแล้วล่ะ จะไม่ค่อยรู้ว่าที่จริง ก็ไม่นานนัก เคยทำอย่างนั้น
ป่าช้ามันก็เป็นสถานที่ที่เราพิจารณาถึงความตายได้โดย สะดวก เพราะว่าเป็นที่เผาเป็นที่ฝังศพ ซึ่งในชนบทก็พอจะมีบ้าง แต่แม้ในชนบททุกวันนี้ ก็ไม่ค่อยจะทำเท่าไหร่ อย่างวัดนานาชาติ เวลาเราสร้างวัดนานาชาติ ก็ตั้งอยู่ในป่าช้า ตอนไปอยู่ใหม่ๆ เวลา จะเผาศพ คือไม่มีที่ประจำที่เผาศพน่ะ ทุกครั้งที่จะมีการเผาศพชาวบ้านมาแล้วก็จะต้องตัดต้นไม้ต้นหนึ่งมาปักเป็นหลัก ๔ หลักเอาฟืนมาตั้ง เสียดายต้นไม้ ทุกครั้งต้องเสียต้นไม้แหละ และก็ต้อง ต้นไม้ที่เนื้อแข็งหน่อย เวลาเผาจะได้เก็บฟืนไว้ แล้วจะตั้งหีบศพข้างบน มันเปิดโล่งจะได้เห็น ทีหลังเราทำที่ประจำ แต่ว่าทำแบบง่ายๆ เหมือนกับเป็นบันไดขึ้นมาแล้วก็มีช่องอยู่กลาง มันก็ยังเปิดโล่งอยู่ แต่มันเป็นที่ประจำ ทุกวันชาวบ้านไม่ค่อยอยากจะใช้ มันไม่สง่า ไม่ค่อยมีเกียรติ อยากมีเมรุเผาศพสวยๆ จึงจะได้เผา
แต่ที่จริงเผาศพมันก็เป็นศพอยู่แล้ว ไม่รู้ศพมันจะว่ายังไง มันเป็นพวกเราที่ยังมีชีวิตกันอยู่ ที่มีการคิด คิดอยากไปเป็นอย่างนี้ อยากไปเป็นอย่างนั้น
การพิจารณาถึงซากศพ มันก็เป็นที่สุดของชีวิตเรา มันก็ สมควรที่จะพิจารณา ที่จริงพระพุทธเจ้าให้เราสวด พระพุทธเจ้าว่า ควรจะสวดทุกวัน ควรจะพิจารณาทุกวัน คือพิจารณาถึงความแก่ พิจารณาถึงความเจ็บไข้ได้ป่วย และพิจารณาถึงความตาย ก็เป็นสิ่ง ที่ควรพิจารณาทุกวัน
พิจารณาเพื่อให้มีการรีบเร่งในการปฏิบัติ ในการทำความดี เพราะว่าในเมื่อเรามีชีวิตอยู่ เราก็พอที่จะทำความดีได้ พอที่จะสร้าง คุณธรรมได้ พอที่จะสร้างปัญญาได้ พอตายไปแล้ว มันก็ไม่รู้จะไป ไหน ไม่รู้มีโอกาสจะปฏิบัติมากน้อยแค่ไหน พระพุทธเจ้าท่านให้คำเปรียบเทียบครั้งหนึ่ง ท่านกำลังนั่งอยู่ กับพระ ท่านเอาเขี่ยดินใส่ปลายเล็บของท่าน ท่านว่าอันไหนจะมากกว่ากัน ดินที่อยู่ปลายนิ้วกับดินในบริเวณเมืองสาวัตถีนี้ ดินที่อยู่ในปลายเล็บน้อย ดินที่อยู่ในเมืองสาวัตถีก็เยอะมากมาย ท่านก็ ว่าเช่นเดียวกัน มนุษย์ที่ตายไปแล้วที่เกิดมาเป็นมนุษย์อีก เพื่อ ทำคุณงามความดีมันก็น้อยนัก ที่ตายไปแล้วก็ไปที่อื่นก็มีมากมาย ถ้าเทียบกันอย่างนั้น
การเกิดในภูมิมนุษย์ก็ถือว่าเป็นภูมิที่สมควรในการทำคุณ ธรรม ทำปัญญาให้เกิดขึ้น ทำการหลุดพ้นให้เกิดขึ้นในเวลาเรามีการ เกิดเป็นมนุษย์ เราก็ควรที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่อย่าง บริบูรณ์ เพราะว่าเราตายไปแล้วก็รับรองไม่ได้ว่าเราจะเกิดที่ไหนอีก ถึงจะเกิดในที่สูง ก็ไม่เป็นภูมิที่จะ...คือมันเป็นภูมิที่เราเสวยผลของ การกระทำของเราที่ทำไว้ในสิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศล แต่ว่าน้อยนักที่ สามารถที่จะใช้ภูมิเทพเป็นภูมิในการสร้างปัญญาต่อไป
ในการพิจารณาถึงความตายเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราระลึกถึง ความจำเป็นในการรีบการเร่ง เราก็พูดตามความเป็นจริง เราพูดถึง ความตาย เราก็มักจะคิดว่า โน้น โน้น เวลาเราแก่เต็มที่ มีโรค แทรกซ้อน ชีวิตจะค่อยดับไป พูดตามความเป็นจริง ความตายมันก็ เกิดขึ้นกับเราอยู่ตลอด
อย่างหนึ่งความตาย ก็สามารถที่จะเกิดอย่างฉับพลันได้ รวดเร็ว พระพุทธเจ้าให้เราพิจารณาถึงความตาย ท่านพูดว่าถ้า หากว่าเราพิจารณาถึงความตาย นอกจากลมหายใจเข้ายังไม่ออก หรือการกลืนข้าวสักคำเดียว คือถ้าเราพิจารณาในอนาคตมากกว่า นั้นว่า เอ้อ เราก็จะมีประสบความตาย อันนี้ถือว่าประมาทแล้ว
ถ้าเราพิจารณาตามหลักของหมอหรือหลักของวิทยาศาสตร์แล้วเราดูวิชาของหมอ คือชีวิตของเราสามารถจะดับ เช่น ถ้า หากว่าเส้นเลือดในสมองแตกปึ๊บ ลมหายใจเข้ายังไม่ทันออก สามารถที่จะไปแล้ว หรือเราประสบอุบัติเหตุปุ๊บ ชีวิตก็ดับลงไปได้
นี่เป็นส่วนที่เราก็ต้องพยายามพิจารณาอย่างเนืองนิตย์ อีกแง่ หนึ่งที่จริงความตายไม่ใช่เป็นสิ่งที่มาจากข้างนอก แล้วก็มาประสบ กับเรา คือเราอุ้มความตายกับเราอยู่ตลอด เราก็มีอาการ เปลี่ยนแปลงภายในร่างกายตลอด คือที่จริงร่างกายของเรากำลังจะ ตายอยู่ตลอด แต่มันก็พอที่จะมีอะไรที่ช่วยทดแทน เช่น เราหายใจ เข้า หายใจออก ถ้าหากว่าหายใจเข้าไม่ออก ความตายก็ถึงตอนนั้น เลย หายใจออกก็ไม่เข้า คือความตายอยู่กับเราตลอด
ภายในร่างกายเรากำลังมีความแตกสลายเกิดขึ้นอยู่ตลอด แต่มีการคอยซ่อมคอยแก้ภายในร่างกาย อันนี้เป็นเหตุที่เช่น เวลา พิจารณาซากศพก็เอาซากศพไปไว้ป่าช้า พอไม่นานมันก็พองขึ้นมา แต่พูดตามความเป็นจริงที่มีความเสื่อมไปในร่างกายหรือกระบวนการ ที่มันพองขึ้นมาอันนี้กำลังเกิดอยู่ในร่างกายตลอด เพียงแต่หน้าที่ ของชีวิตและการมีชีวิตอยู่มันจะคอยต้านเอาไว้ๆ แต่ว่าพอลมหายใจ ครั้งสุดท้ายมันก็ไม่สามารถที่จะต้าน คือต้านไม่อยู่แล้ว มันเริ่ม เน่าแล้วแต่ที่จริงเรากำลังเน่าอยู่ตลอด ตามหลักของวิทยาศาสตร์ หรือของหมอ มันเป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย ที่เรามีตลอดที่ตายไปแล้วเป็นซากศพเปลี่ยนสีขึ้นมา อันนั้น มันเป็นเรื่องธรรมดาที่กำลังเกิดในร่างกายอยู่ตลอด เพียงแต่มันไม่ สามารถที่จะต้านเอาไว้หรือทำให้มันพอต่อชีวิตได้
มันเป็นส่วนที่น่าคิดน่าพิจารณาอยู่ หรือแม้แต่ในเซลล์ทุก เซลล์ของเรา มันก็กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด และก็พอไม่มีความอุ่น ไม่มีการหายใจเข้าหายใจออกมันก็ค่อยเริ่มแตกสลาย มันไม่ สามารถที่จะซ่อมได้ มันก็สลายนี่เป็นเหตุที่น้ำมันไหลออกจาก ร่างกาย เพราะว่าเซลล์มันกำลังแตกอยู่ แต่ที่จริงมันกำลังแตกอยู่ทุก วันทุกเวลาแหละ มันเป็นเรื่องที่เราไม่ค่อยคิด แต่มันก็เป็นความจริง
บางทีเราไม่ต้องไปป่าช้า ไปดูซากศพ ดูตัวเองก็ซากศพยัง เคลื่อนไหวอยู่ เป็นเรื่องที่มันไม่ห่างไกลหรอก
เวลาเราพิจารณาถึงความตาย ก็เป็นสิ่งที่เราพิจารณาเพื่อให้ เรามีสังเวคะ ความรีบเร่งมีกำลังใจที่จะได้ปฏิบัติ มีกำลังใจที่จะ สร้างความดีเพื่อไม่ให้ประมาท สังเวคะ เป็นความรู้สึกภายในจิตใจ ที่มีความสำคัญมาก เพราะถ้าหากว่าเราไม่มีสังเวคะก็ปล่อยไปตาม ความหลงตามกระแสของโลก แต่สังเวคะ เป็นความรู้สึกในจิตใจที่ อยากจะได้รีบเร่งทำสิ่งที่มีสาระ ทำสิ่งที่มีประโยชน์อย่างสูงสุดให้เกิด ขึ้นในชีวิตของตน
มีครั้งหนึ่งมีเทวดามาแสดงความเห็นหรือความรู้สึกต่อ พระพุทธเจ้า เพื่อพระพุทธเจ้าจะได้อนุโมทนาหรือจะเห็นชอบหรือจะชี้แจงในความบกพร่องของความคิดความเห็นความรู้สึก เป็นบทกลอนที่แสดงให้พระพุทธเจ้าฟัง คือชีวิตของเราทุกชีวิตมีความ ตายเป็นที่สุดรอบ มีความตายประจันหน้าเรา เราควรที่จะทำความดี เพื่อความสุขที่ไพบูลย์
พระพุทธเจ้าฟังแล้ว ท่านก็ให้ความคิดอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่ง ท่านก็ใช้สำนวนเดียวกัน เรามีความตายครอบงำทุกคน ถูกชักลาก ไปด้วยความตาย เมื่อมีความตายเป็นที่สุดรอบ เราควรที่จะละเสีย ซึ่งเหยื่อของโลกและทำความสงบให้เกิดขึ้น เป็นประเด็นที่ยกระดับความคิด ไม่ใช่ว่าพระพุทธเจ้าไม่ สรรเสริญการทำความดีและการสร้างความสุขด้วยอาศัยบุญ แต่ว่า ในประเด็นที่เราอยากจะสร้างความมั่นคงจริงๆ คือเราจำเป็นที่จะ ต้องคือเห็นโทษเห็นพิษภัยและเห็นความขัดข้องของโลกและการหลง ในโลก เวลาเราถอนออกได้ เราก็สามารถที่จะมีความสงบที่มั่นคงได้ ความสงบนี้จึงเป็นเหตุให้เกิดความสุขที่ไม่หวั่นไหวต่ออะไรทั้งสิ้น พิจารณาถึงความตายที่จริงมันช่วยทั้ง ๒ ประเด็น ทั้งใน การสร้างความดี ทั้งในการหาความสงบ พระพุทธเจ้าจะยกเรื่อง ความสงบให้สูงกว่า
ในเวลาเราพิจารณาถึงความตาย มันก็เป็นสิ่งที่เราพยายาม ที่จะเห็น คือมันเป็นของธรรมดา แต่ว่าเป็นสิ่งที่เราไม่ควรจะเพิกเฉย เรารู้อยู่ว่าความตายก็จะมาถึงเรา ก็ไม่ควรจะเฉยไม่ควรจะมีความ ประมาท

สมาธิ ภาวนา